วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการจัดสวนถาด

รูปแบบของสวนถาดที่จะกล่าวถึง   ได้แก่   รูปแบบสวนถาดของญี่ปุ่นและของไทย

                                      รูปแบบสวนถาดของญี่ปุ่น
                         รูปแบบการจัดสวนถาดของญี่ปุ่นที่นิยมได้แก่    บอนเค  โยเดะอุเอะ  อิชิสุกิ  บอนไช และไซเด  บอนเค          
หมายถึง   การจัดสวนถาดแบบย่อทิวทัศน์ลงในถาดโดยไม่นิยมใช้ต้นไม้เป็นองค์ประกอบ   เช่น  ทิวทัศน์ของหาดทราย   ชายทะเล   ทิวทัศน์ของโขดหินกลางน้ำ  ฯลฯ



                                                          ภาพ การจัดสวนถาดแบบบอบเค


 
ภาพ การจัดสวนแบบโยเสะอุเอะ

โยเสะอุเอะ
หมายถึง   การจัดสวนถาดแบบย่อป่าธรรมชาติที่เต็มไปด้วยต้นไม้ (Group  Planting)  ลงในถาด   โดยไม่นิยมใช้หิน   รากไม้   ตอไม้   และตุ๊กตาเป็นองค์ประกอบ
                                    
  อิชิสุกิ  บอนไช             
หมายถึง   การจัดสวนถาดแบบปลูกต้นไม้เกาะหินหรือบอนไซประเภทไม้เกาะหิน    ซึ่งคล้ายกับการจัดเขามอของเรานั่นเอง

    
                             
                         
                       
                                       ภาพ  การจัดสวนอิชิสุกิ  บอนไช

หมายถึง   การจัดสวนแบบย่อส่วนของสวนธรรมชาติจริง ๆ   เป็นสวนธรรมชาติที่ประกอบด้วนต้นไม้กับองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเท่านั้น   ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์จากฝีมือมนุษย์   เช่น   บ้าน   สะพาน   ม้านั่ง   ตุ๊กตา ฯลฯ





ประโยชน์การจัดสวนถาด

                                              ประโยชน์การจัดสวนถาด

สวนถาดให้ประโยชน์หลายด้าน   ให้ประโยชน์แก่ผู้จัด   ผู้ชม   และผู้เกี่ยวข้อง    ประโยชน์ของสวนถาดได้แก่   ประโยชน์ด้านการศึกษา  ด้านจิตใจและด้านเศรษฐกิจ





                     การจัดสวนถาด   สวนหย่อม   และภูมิทัศน์ให้สวยงาม  มีชีวิตชีวาและดูแลรักษาง่าย   ผู้จัดต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฏี   รู้วิธีการจัดละสามารถประปฏิบัติได้จริง   ผู้สนใจด้านการจัดสวน ต้องรู้วิธีการ จัดสวนให้เกิดความสวยงาม   ได้แก่   การนำความงามของพืชพรรณกับความงาม ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้จัดสวนมาประกอบกันให้เกิด   รูปทรงเส้น  ที่ว่าง   สีสัน   ผิวพรรณ   จุดเด่น   จุดสมดุล   ช่วงจังหวะ   สัดส่วน   ความกลมกลืน   ความแตกต่าง   และสาระเรื่องราว    ถ้าสามารถนำมาประกอบกันได้อย่างมีศิลปะ    ถูกต้องเหมาะสมตามสาระเรื่องราวจะทำให้ความงามของสวนปรากฏขึ้นมาเอง   ซึ่งนักจัดสวนมืออาชีพสามารถทำได้ง่าย   แต่ผู้ที่เริ่มสนใจการจัดสวนจะทำได้ยาก   เพราะการจัดภูมิทัศน์   และการจัดสวนหย่อมจะต้องใช้ต้นไม้    และวัสดุอุปกรณ์จริง   ซึ่งมีขนาดใหญ่  น้ำหนักมากจึงยากต่อการจัดทำต้นไม้   และวัสดุอุปกรณ์ยังมีราคาแพงอีกด้วย   จึงไม่คุ้มกับการลงทุนเพียงเพื่อการฝึกให้เกิด ทักษะการจัดสวน    ฉะนั้นการเรียนวิชาการจัดสวน   จึงเริ่มต้นด้วยการเรียน วิชาการจัดสวนถาด   เพราะการฝึกจัดสวนถาดทำได้สะดวกกว่าการฝึกจัด ภูมิทัศน์และสวนหย่อม   เนื่องจากต้นไม้และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ฝึกจัดสวนถาดมีขนาดเล็ก   น้ำหนักเบา   หาง่าย   และราคาถูก   จึงสะดวกต่อการฝึกจัดวางองค์ประกอบ ของสวนถาดให้เกิดความสวยงาม    สะดวกต่อการฝึกซ้ำเพื่อให้เกิดความชำนาญ   เมื่อมีความรู้และความเข้าใจ และความชำนาญในการจัดสวนถาด   จึงเป็นการง่ายต่อการจัดสวนหย่อม และภูมิทัศน์   เพราะหลักวิชาการที่นำมาใช้จัดสวนถาด   สวนหย่อม   และการจัดภูมิทัศน์   ต่างใช้หลักวิชาการเดียวกัน จะต่างกันบ้างในเรื่องของ รายละเอียดเท่านั้น  ฉะนั้นความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดสวนถาด   จึงเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของการจัดสวนหย่อมและการจัดภูมิทัศน
  
                   ประโยชน์ทางด้านจิตใจจะเกิดขึ้นแก่ผู้จัดและผู้ชม  ผู้จัดได้นำเอาความงดงาม ของสวน  ธรรมชาติที่ได้พบเห็น  และเอาความคิดตามจินตนาการของตน   นำมาผสมผสานกันเพื่อทำการจัดสวนถาด  ขณะทำการจัดทำให้ผู้จัดเกิดความ เพลิดเพลินและมีความสุขอยู่กับการจัดสวนถาด  ผลงานการจัดสวนถาดด้วยความคิด และด้วยมือของผู้จัดเอง   ทำให้ผู้จัดเกิดความภาคถูมิใจในความสามารถของตน   ความภาคภูมิใจยั่วยุให้ผู้จัดเกิดความอยากที่จะพัฒนางานการจัดสวนถาดของตน การได้ฝึกจัดสวนถาดบ่อย ๆ จะช่วยให้ผู้จัดเห็นความงามที่ธรรมชาติสร้างขึ้น   ส่วนผู้ชมหรือผู้ที่ได้พบเห็นสวนถาดที่จัดได้อย่างสวยงาม   ความสวยงามของสวนถาดจะช่วยโน้มน้าวจิตใจของผู้ชมให้เกิดสุนทรียภาพ   ผู้ชมได้รับอาหารทางจิตใจทำให้ใจอิ่มเอิบ   ทำให้ผู้ชมมีความสุขทางใจ   ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อีกทางหนึ่ง   ความงดงามของสวนถาดเป็นอาหาร และยาทางใจของผู้ชมและผู้จัด
        
                
 ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของผู้จัดสวนถาด   ได้แก่   การจัดสวนถาดเพื่อการจำหน่ายหรือบริการให้เช่า   การจัดสวนถาดเพื่อการจำหน่าย   หมายถึง   การลงทุนซื้อหรือจัดหาอุปกรณ์การ จัดสวนถาด   แล้วนำวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นสวยถาดให้สวยงาม   จัดเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขาย   ราคาขายของสวนถาดกำหนดจากราคาขายปลีกของ วัสดุอุปกรณ ์การจัดสวนถาด   บวกด้วย   ค่าจัดทำหรือค่ามือ   วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำสวนถาด   เช่นถาด   ต้นไม้   ส่วนผสมของดินที่สำหรับจัดสวนถาด   หิน   รากไม้   ตุ๊กตาจำลอง   ปั๊มน้ำขนาดเล็ก   มอสส์   ทรายแก้ว   ทรายคัด   กรวดบดสีต่าง ๆ ฯลฯ   การคิดต้นทุนของวัสดุอุปกรณ์การจัดสวน   คิดตามราคาขายปลีกแม้ว่าผู้จัดได้ซื้อ มาในราคาขายส่ง   หรือไม่ได้ซื้อมาเพราะผลิตหรือจัดหามาเองก็ตาม   แต่การกำหนดราคาต้นทุนของวัสดุอุปกรณ์ต้องกำหนดจากราคาขายปลีกเสมอ    ราคาขายปลีกของวัสดุอุปกรณ์การจัดสวนถาดจะสูงกว่าราคาขายส่งประมาณร้อยละ  20   เมื่อนำอุปกรณ์การจัดสวนถาดมาทำการจัดสวนถาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว   ขั้นต่อไปคือกำหนดราคาขาย   โดยการบวกค่าจัดทำอีกหนึ่งเท่าตัวของราคา วัสดุอุปกรณ์   เช่น   การจัดสวนถาดหนึ่งถาดผู้จัดได้ซื้ออุปกรณ์มาทั้งหมด  100  บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว   ผู้จัดได้คิด   120   บาท   เมื่อจัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดคิดค่าจัดอีกเท่าตัวฉะนั้นราคาขายของสวนถาดจึงกำหนดไว้ที่   240   บาท   ในกรณีที่ผู้จัดสวนถาดได้บริการลูกค้าโดยการให้เช่าเป็นรายเดือน   จะกำหนดค่าเช่า ประมาณร้อยละ   75   ของราคาขาย   หรือคิดค่าเช่าประมาณเดือนละ  180   บาท โดยปกติจะให้เช่าเพียงหนึ่งเดือนจากนั้นจะนำสวนถาดมาบำรุงรักษา

การจัดสวนถาด

                                            ความหมายการจัดสวนถาด

 การจัดตกแต่งทั่วบริเวณอาคารบ้านเรือน   โรงเรียน   โรงแรม  วัด   รีสอร์ท(Resort) ฯลฯ เพื่อให้เกิดความร่มรื่น สวยงามและเกิดประโยชน์ต่อการใช้สอย เรียกว่า การจัดสวนหรือการจัด  ภูมิทัศน์  (Landscaping) ส่วนการจัดตกแต่ง ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งซึ่งมีพื้นที่จำกัดเพื่อเน้นให้เกิดความสวยงามโดยไม่คำนึงถึง
ประโยชน์กรใช้สอยมากนัก   เรียกว่าการจัดสวนหย่อม (Landscape garden) การจัดสวนในภาชนะโปร่งใสที่มีขนาดเล็ก เช่น จัดในแก้ว
ซึ่งสามารถมองผ่านแก้วเห็นสวนภายในแก้วได้ชัด  เรียกว่าการจัดสวนแก้ว (Terrarium)  การจัดสวนในภาชนะยังสามารถจัดได้ในภาชนะทึบแสง   ก้นตื้น   ปากกว้าง   เรียกว่า  การจัดสวนถาด (Tray  Landscape  หรือ  Dish  garden)